​ญี่ปุ่นตีทะเบียน GI “กาแฟดอยช้าง-ดอยตุง”

img

ขอ “แสดงความยินดี” กับ “สินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI)” ของไทยอีก 2 รายการ คือ “กาแฟดอยช้าง-กาแฟดอยตุง” จาก จ.เชียงราย ที่ได้รับการขึ้นทะเบียน GI ในประเทศญี่ปุ่น
         
ข่าวดีที่ว่า “กรมทรัพย์สินทางปัญญา” ได้ร่วมกับ “กระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมงญี่ปุ่น” จัดพิธีมอบ “ประกาศขึ้นทะเบียน” 2 สินค้าของไทยไปเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ที่กรุงเทพฯ
         
ในวันนั้น ไม่ใช่แค่ไทยได้ข่าวดี แต่ฝ่ายญี่ปุ่นก็ได้ข่าวดีด้วยเช่นเดียวกัน เพราะไทยได้มอบ “ประกาศขึ้นทะเบียน” สินค้าของญี่ปุ่น 2 รายการ คือ “เนื้อทาจิมะ-เนื้อคาโงชิมะ
         
ทีนี้ เรามาทำ “ความรู้จัก” กาแฟ 2 ทั้งชนิดกัน

กาแฟดอยช้าง” เป็นกาแฟอาราบิก้า สายพันธุ์หลัก คาทูรา คาติมอร์ และคาทุย ที่ปลูกบนหุบเขาดอยช้าง ใน ต.วาวี อ.แม่สรวย จ.เชียงราย ที่ระดับความสูง 1,000–1,700 เมตรจากระดับน้ำทะเล ซึ่งเหมาะแก่การปลูกกาแฟอาราบิก้า ประกอบกับการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยวอย่างพิถีพิถัน และกรรมวิธีผลิตที่ได้มาตรฐาน ส่งผลให้กาแฟดอยช้างมีกลิ่นหอมหวานคล้ายน้ำผึ้ง และมีรสชาติกลมกล่อม ชุ่มคอ
         
ส่วน “กาแฟดอยตุง” ปลูกในพื้นที่โครงการพัฒนาดอยตุงบนเทือกเขานางนอน จ.เชียงราย ระดับความสูง 800–1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเล มีเอกลักษณ์ มีกลิ่นหอมหวานจากผลไม้ มีรสชาติเปรี้ยวเล็กน้อย แต่ไม่เปรี้ยวจัด มีเนื้อสัมผัสและรสชาติกำลังดี จึงเป็นที่ชื่นชอบของนักดื่มกาแฟ
         
นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา” บอกว่า การที่ญี่ปุ่นประกาศขึ้นทะเบียน GI สินค้ากาแฟไทย 2 รายการดังกล่าว จะ “เกิดประโยชน์” มากมาย โดย “ชื่อเสียง” ของกาแฟไทย จะได้รับการ “ยอมรับ” ในตลาดญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น ผู้บริโภคยินดีที่จะจ่ายในราคา “ที่แพงขึ้น” จากการมีตรา GI รับรอง
         


ถือเป็น “ข่าวดี” สำหรับ “เกษตรกร” และ “ผู้ประกอบการ” ที่ผลิตกาแฟทั้ง 2 ชนิด
         
ไม่เพียงแค่นั้น คาดว่า จะมีข่าวดีตามมาอีก คือ “สับปะรดห้วยมุ่น” ที่ได้ยื่นคำขอจดทะเบียน GI ที่ญี่ปุ่น น่าจะได้รับการขึ้นทะเบียนในเร็ว ๆ นี้
         
ข้อมูลจาก “กรมทรัพย์สินทางปัญญา” สรุปว่ามี “สินค้า GI ไทย” ที่ได้ขึ้นทะเบียนในต่างประเทศแล้ว เช่น ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง กาแฟดอยช้าง กาแฟดอยตุง เส้นไหมไทยพื้นบ้านอีสาน ผ้าไหมยกดอกลำพูน มะขามหวานเพชรบูรณ์ ครอบคลุมกว่า 30 ประเทศ ทั้งสหภาพยุโรป อินเดีย อินโดนีเซีย กัมพูชา เวียดนาม และญี่ปุ่น
           
นอกจากนี้ “กำลังยื่น” คำขออีกหลายประเทศ เช่น ญี่ปุ่น จีน มาเลเซีย สินค้า “ที่ยื่น” เช่น ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง ลำไยอบแห้งเนื้อสีทอง มะขามหวานเพชรบูรณ์ ส้มโอทับทิมสยามปากพนัง ทุเรียนปราจีน มะพร้าวน้ำหอมราชบุรี เป็นต้น
         
ส่วนสินค้า GI ของต่างประเทศ ที่ขึ้นทะเบียนในไทยแล้ว มี 20 สินค้าจาก 9 ประเทศ เช่น สก็อตช์ วิสกี้ ของสก๊อตแลนด์ , แชมเปญ คอนยัค ของฝรั่งเศส , ตากีล่า ของเม็กซิโก , พริกไทยกำปอด น้ำตาลโตนดกำปงสปือ ของกัมพูชา และอยู่ระหว่างตรวจสอบคำขออีก 13 สินค้า จาก 7 ประเทศ
         
สำหรับสถานการณ์ “การขึ้นทะเบียน GI ในไทย” นับตั้งแต่ปี 2546 ที่เป็นปี “ก่อตั้ง” ระบบการขึ้นทะเบียน GI ปัจจุบันมี “สินค้าชุมชน-สินค้าท้องถิ่น” ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนแล้วรวม 189 รายการทั่วประเทศ
         
แยกเป็น “ข้าว” จำนวน 21 สินค้า เช่น ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง ข้าวไร่ลืมผัวเพชรบุรณ์ ข้าวหอมกระดังงานราธิวาส

อาหาร” จำนวน 38 สินค้า เช่น หมูย่างเมืองตรัง ไข่เค็มไชยา กาแฟเทพเสด็จ ถั่วลายเสือแม่ฮ่องสอน



พืช ผัก ผลไม้” จำนวน 93 สินค้า เช่น ส้มโอนครชัยศรี สับปะรดภูแลเชียงราย เงาะโรงเรียนนาสาร กล้วยหอมทองหนองบัวแดง แห้วสุพรรณ

ผ้าไหม ผ้าฝ้าย” จำนวน 15 สินค้า เช่น ผ้าตีนจกแม่แจ่ม ผ้าฝ้ายทอผสมขนแกะบ้านห้วยห้อม ผ้าหมักโคลนหอนงสูง ผ้าไหมสาเกต

หัตถกรรม อุตสาหกรรม” จำนวน 20 สินค้า เช่น ครกหินอ่างศิลา ร่มบ่อสร้าง ศิลาดลเชียงใหม่ ญอกมละบริน่าน ดินสอพองลพบุรี

ทั้งหมดนี้ มี “มูลค่าการตลาด” ในปัจจุบันรวมกว่า 51,000 ล้านบาท ครอบคลุมประชากรที่ “ปลูก” และ “ผลิต” กว่า 3 แสนครัวเรือน

ว่ากันว่า หาก “ไม่มี” ตรา GI ประเมิน “มูลค่าตลาด” ณ ตอนนี้ น่าจะไม่เกิน 20,000 ล้านบาท แต่เมื่อ “มี” ตรา GI มูลค่าตลาด “ขยับเพิ่ม” ได้อีกกว่า 30,000 ล้านบาท

มี “เหตุผล” ง่าย ๆ คือ สินค้าที่ได้ขึ้นทะเบียน GI ถือว่ามีการ “การันตี” ว่าเป็นสินค้าที่มี “เฉพาะถิ่น” และเป็นสินค้าที่ “ดี-มีคุณภาพ” ทำให้ราคามีแต่ “เพิ่มขึ้น” โดย “บางสินค้า” มีมูลค่าเพิ่ม “สูงสุด กว่า 200%

นี่คือ “ความสำคัญ” และ “ความสำเร็จ” ของตรา GI

กรมทรัพย์สินทางปัญญา” มาถูกทางแล้ว

ของดี” ของไทย ยังมีอีกมาก

ตามค้น-ตามหา” แล้วขึ้นทะเบียน

เชื่อว่า จะมีแต่ “เสียงชื่นชม
 
ซีเอ็นเอ

ติดตามข่าวสารแบบฉับไว
ส่งตรงถึงมือถือ คลิกเลย
ติดตามข่าวสารผ่าน Twitter
กดคลิก Follow ด้านล่าง