​ส่งออก-ค้าชายแดนทะลุเป้า

img

สัปดาห์ที่ผ่านมา มีข่าวดีสำหรับตัวเลขเศรษฐกิจของไทย ที่อยู่ในความรับผิดชอบของ “กระทรวงพาณิชย์” ออกมาติด ๆ กัน
         
นั่นก็คือ ตัวเลข “การส่งออก” และตัวเลข “การค้าชายแดนและผ่านแดน
         
ทั้ง 2 ตัวเลขที่ออกมา เรียกว่า “โตทะลุเป้า
         
เป็นความหวัง “เครื่องจักร” ตัวสำคัญ ที่จะเป็นแรงส่งขับเคลื่อน “เศรษฐกิจไทย” ในปีนี้
         
โดยตัวเลขการส่งออก เป็นตัวเลขของเดือนก.ค.2564 ที่แม้จะเจอสถานการณ์โควิด-19 แต่ก็ยังทำได้ดี
         
มีมูลค่าสูงถึง 22,650.83 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 20.27% ยังเป็นบวกได้ 2 หลัก

หลังจากที่เริ่มบวกในระดับ 2 หลังมาตั้งแต่เดือน เม.ย.2564 ที่เพิ่ม 13.09% เดือน พ.ค.2564 เพิ่ม 41.59% และเดือน มิ.ย.2564 เพิ่มแรงถึง 43.82%
         
ส่วนยอดรวม 7 เดือน (ม.ค.-ก.ค.) มีมูลค่า 154,985.48 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 16.20%
         
ขยายตัวเกินเป้าหมายไปแล้ว 4 เท่า จากเป้าที่ตั้งไว้ที่ 4%
         
ขณะที่การค้าชายแดนและผ่านแดน ที่ถือเป็นส่วนหนึ่งในตัวเลขส่งออกภาพรวม ตัวเลขเดือน ก.ค.2564 มีมูลค่า 90,101 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 41.70%
         
ส่วนยอดรวม 7 เดือน มีมูลค่า 591,051 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 37.88%

เกินไปกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ 3-6% แล้วเช่นเดียวกัน

ถ้าดูที่เป้าขั้นต่ำ 3% ตอนนี้โตไปกว่าเป้าแล้วกว่า 12 เท่า และถ้าดูที่เป้าขั้นสูง 6% ก็โตไปกว่าเป้าแล้วกว่า 6 เท่า
         
แต่กระทรวงพาณิชย์ยัง “ใจแข็ง” ยังไม่มีการ “ปรับประมาณการเป้าหมาย” แต่อย่างใด ทั้งเป้าหมายการส่งออก และเป้าหมายการค้าชายแดนและผ่านแดน
         


นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ มองว่า “เป้า” ก็คือ “เป้า” แต่สิ่งที่ต้องการทำ ก็คือ จะผลักดันให้การส่งออก การค้าชายแดนและผ่านแดน มีการเติบโตต่อเนื่องได้อย่างไรมากกว่า
         
เพราะนั่นเป็น “ภารกิจที่แท้จริง
         
สำหรับปัจจัยที่ช่วยให้การส่งออกยังคงเติบโตได้ดี มาจากแรงฮึดของภาคเอกชนไทย ที่ยังคงเดินหน้าส่งออกอย่างเต็มที่
         
แต่ที่สำคัญที่สุด มาจาก “ความสำเร็จ” ของการทำงานร่วมกันในนาม “กรอ.พาณิชย์” ที่ทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ
         
มีปัญหา “วิ่งแก้ทันที” มีข้อติดขัด “เข้าแก้ทันที
         
ทำให้การส่งออกไม่เกิดอาการ “สะดุด” หรือ “ถ้าสะดุด” ก็แก้ปัญหาจบได้แบบ “ทันท่วงที” ปัญหายังไม่ “ลุกลามบานปลาย
         
ที่เห็นได้ชัด ๆ ก่อนหน้านี้ ก็เรื่องขาดแคลน “ตู้คอนเทนเนอร์” ที่ตอนนี้เข้าสู่ “ภาวะสมดุล” แล้ว มีตู้นำเข้าสูงกว่าส่งออกอยู่ 1.2 แสนตู้ จบปัญหาเรื่องนี้ไปได้
         
ส่วนค่าระวางเรือแพง ก็ผลักดันให้ SMEs รวมตัวกันจองตู้ เพื่อเฉลี่ยต้นทุน รวมถึงสินค้า “ข้าว” ที่กำลังมีปัญหา
         
กรณี SMEs ส่งออก ที่ขาดสภาพคล่อง ได้ประสาน EXIM Bank อนุมัติเงินกู้เงื่อนไขพิเศษให้ ปัจจุบันมี 151 ราย ที่ได้รับการช่วยเหลือแล้ว เป็นเงิน 618 ล้านบาท
         
หรือการส่งออก “ผลไม้” ที่ติดขัดที่ด่าน ก็เข้าไปแก้ปัญหา จนทะลุผ่านด่าน สปป.ลาว ผ่านเวียดนาม ไปถึงจีนได้แบบไม่ติดขัด
         
วันนี้ มีตัวเลขส่งออกยืนยันชัดเจน โดยผลไม้สดและแห้ง เดือนก.ค.2564 ส่งออกไปจีน มูลค่าประมาณ 15,000 ล้านบาท เพิ่ม 348% เป็นทุเรียน 10,600 ล้านบาท มังคุด 4,700 ล้านบาท และลำไย 370 ล้านบาท
         


ล่าสุด มีข่าวจีนระงับนำเข้า “ทุเรียน” เพราะตรวจเจอโควิด-19 ได้เข้าไปแก้ทันที สุดท้าย “พบในตลาดจีน” ไม่เกี่ยวกับไทย “ไม่มีการห้ามนำเข้า
         
ลำไย” มีการตรวจเจอ “เพลี้ยแป้ง” สั่งห้ามนำเข้าทันที 66 ราย

ได้สั่งการให้ทูตพาณิชย์ ทูตเกษตร เข้าเจรจากับทางการจีนอย่างเร่งด่วน ผ่านไป 2-3 วัน “ปัญหายุติ” เลิกห้ามนำเข้า 56 ราย เป็นรายที่ผ่านเงื่อนไขที่กำหนด ส่วนรายที่ไม่ผ่าน หากปฏิบัติตามเงื่อนไขได้ ก็จะอนุญาตให้ส่งออกได้ต่อไป
         
ส่วนด่านการค้า ปัจจุบันเปิดแล้ว 44 ด่านจาก 97 ด่าน จะเร่งรัดเปิดให้ได้อีก 11 ด่าน เป็น “เมียนมา 1 ด่าน สปป.ลาว 7 ด่าน กัมพูชา 1 ด่าน และมาเลเซีย 2 ด่าน
         
ถ้าเปิดด่านได้มาก การค้าชายแดนก็คล่องตัว จะสนับสนุนให้การส่งออกภาพรวมดีขึ้นตามไปด้วย
         
อย่างไรก็ตาม ดูภาพรวมแล้ว ทั้งการส่งออก ทั้งการค้าชายแดนและผ่านแดน จะยังไปได้ดี
         
แต่ก็มีเรื่องที่ “น่าเป็นห่วง” เช่นเดียวกัน
         
นายจุรินทร์ บอกว่า การส่งออก อาจจะได้รับผลกระทบจากโควิด-19 บ้าง โดยเฉพาะตัวเลขเดือน “ส.ค.-ก.ย.2564

ปัญหาที่เห็นชัด ๆ ตอนนี้ การส่งออกผลไม้ ที่ติดขัดสถานการณ์โควิด-19 ในเพื่อนบ้าน ทำให้ส่งออกติดขัดในบางช่วง บางเวลา จนต้องเข้าไปแก้ปัญหาหน้างานอยู่บ่อยครั้ง  

การส่งออก “น้ำยางดิบ” ไปมาเลเซียลดลง เพราะสถานการณ์โควิด-19  

หรือโรงงานผลิตส่งออกบางแห่ง ที่มีแรงงานติดโควิด-19 ทำให้ต้องปิดตัว ซึ่งอาจจะกระทบส่งออกในอนาคต

โดยปัญหาที่เกิดขึ้น ได้เข้าไปแก้ไขหมดแล้ว อย่างโรงงานผลิต ได้เสนอว่า ถ้ามีแรงงานติดเชื้อ ก็ให้ปิดส่วนที่พบ ส่วนอื่นไม่มีปัญหา ก็เปิด หรือส่วนที่ติด แก้จบแล้ว ก็ต้องให้เปิดโดยเร็ว เพื่อไม่ให้กระทบต่อกำลังการผลิต

ก็ต้องมาติดตามดูผลจากนี้ไป ว่า การส่งออกจะเป็นอย่างไร

ช่วงปลาย ๆ เดือนก.ย.2564 จะรู้ว่า “ตัวเลขส่งออกของเดือน ส.ค.2564” จะ “บวกหรือลบ

ไว้ถึงเวลามาลุ้นกัน
 
ซีเอ็นเอ

ติดตามข่าวสารแบบฉับไว
ส่งตรงถึงมือถือ คลิกเลย
ติดตามข่าวสารผ่าน Twitter
กดคลิก Follow ด้านล่าง

ข่าวล่าสุด

ดูทั้งหมด